•หลักสูตร: นิยาม
ความหมาย•
“หลักสูตร” หมายถึง
ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้
สมิธ (Smith,
M.K. 1996) ได้ให้แนวคิดในการนิยาม “หลักสูตร” ตามทฤษฏีและการปฏิบัติหลักสูตรมี 4 ทิศทางดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2.หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3.หลักสูตรเป็นกระบวนการd
ทฤษฎีหลักสูตร : นิยาม
ความหมาย
“ทฤษฎี (Theory)”
มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ
ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
ตาททัศนะของโบแชมพ์
(Beauchamp 1981: 11) กล่าวว่า
ความสำคัญของทฤษฎีจะช่วยให้เราเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่ (1.)
บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ (2.) อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (3.)
ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
•การสร้างทฤษฏีหลักสูตร•
โบแชมพ์
(Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2
ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)
และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design
theories)
การออกแบบหลักสูตร
(Curriculum design) หมายถึง
การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ
กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
Zais (1976: 431-437) ได้สรุปการออกแบบหลักสูตร
ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบ
คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design)
และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic design) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่า
คนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทาง ได้แก่
1.) ความมีเหตุผล
(Rationalism) นำไปสู่ความจริง
2.) การสังเกต
(Empiricism) รับรู้ได้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส
3.) สัญชาตญาณ (Intuition)
ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าว
4.) อำนาจ (Authoritarianism) เช่น
ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์บอกไว้
2.
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering
theories)
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่
การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรและระบบหลักสูตร
ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ
ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ
และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี
หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร
และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร
การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
กระบวรการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำ ซึ่งแบ่งสามเหลี่ยมใหญ่ออกเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ สี่ช่อง หมายถึง 4 ขั้นตอนในกระบวนการกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
ช่องแรก ส่วนบนสุด อยู่ติดกับมุมความรู้ คือ "การวางแผนหลักสูตร" (Curriculum Planning)
อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามแรกคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร ต้องมีการกำหนดจุดมุ่หมายของหลักสูตร
ช่องที่สอง อยู่ที่มุมของผู้เรียน หรือมุมซ้าย คือ "การออกแบบหลักสูตร" (Curriculum Design)
เป็นการนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือมีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการและด้านการพัฒนาผู้เรียน
ช่องที่สาม เป็นส่วนของ "การจัดระบบหลักสูตร" (Curriculum Organize) ซึ่งอยู่ตรงส่วนของสามเหลี่ยมตรงกลางที่เป็นเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมช่องแรก โดยในทางปฎิบัตินั้นการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน จะมีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
ช่องสุดท้ายสามเหลี่ยมรูปี่สี่ คือส่วนของขั้นตอน "การประเมิน" (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
สรุปโดย ปวิตร พุทธิรานนท์ รหัสนักศึกษา 06550085